การตั้งเครื่องบวงสรวงไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในบ้าน เราควรแยกเครื่องบวงสรวงสำหรับไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่ละลำดับขั้น ไม่ควรตั้งเครื่องบวงสรวงไหว้รวมเป็นชุดเดียวกัน ถ้าหิ้งบูชาอยู่แยกกันก็ให้แยกชุดเครื่องบวงสรวง อย่าไหว้ที่หนึ่งเสร็จแล้วนำไหว้อีกที่หนึ่ง เช่น อย่านำเครื่องบวงสรวงของพระพุทธที่ไหว้เสร็จแล้วไปไหว้เทพองค์ต่าง ๆ หรือ เจ้าที่ต่ออีก หรือแม้แต่นำไปไหว้สัมภเวสี มิเช่นนั้นจะเปรียบเสมือนเราตักบาตรพระ หากพระนำอาหารนี้ไปให้แม่ค้าเวียนกลับมาขาย คนซื้อต่อมา เมื่อนำอาหารนี้มาใส่บาตรพระซ้ำอีกก็จะไม่ได้บุญอะไร ฉะนั้น คนจีนส่วนใหญ่ที่ตั้งเครื่องบวงสรวงไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในบ้านก็จะมีไหว้พระ เจ้าแม่กวนอิม ปึงเถ้ากง เทพเจ้าที่ตั้งบูชา เจ้าที่ และ ไหว้บรรพบุรษตามลำดับ (กรณีไหว้บรรพบุรุษจะไหว้ในวันสิ้นปีกับวันเชงเม้ง) ซึ่งเราควรตั้งอาหารเซ่นไหว้ให้พอเหมาะกับคนในบ้านที่รับประทาน หากมากเกินไปก็จะเหลือ ถ้าน้อยเกินไปก็จะไม่พอ แต่บางคนเชื่อว่า ถ้าตั้งอาหารเซ่นไหว้มาก ๆ แล้วจะรวย แท้จริงนั้นไม่ใช่ เราควรไหว้ให้พอเหมาะกับจำนวนคนภายในบ้าน
ตำแหน่งการวางโต๊ะและของไหว้เจ้าที่
เทวรูป
แจกันดอกไม้ 1 คู่
เทียนแดง 1 คู่
กระถางธูป
ธูป 5 ดอก / คน
สุรา
น้ำชา
ผลไม้
เนื้อสัตว์ 3 หรือ 5 อย่าง
ขนมหวาน
ชุดไหว้เจ้าที่
ตำแหน่งการวางโต๊ะและของไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ยหรือเทพเทียนไช้
เทวรูปหรือรูปภาพของเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย
แจกันดอกไม้ 1 คู่
เทียนสีแดง 1 คู่
กระถางธูป
ธูป 3 ดอก / คน
น้ำชา 5 ถ้วย
ข้าวสวย 5 ถ้วย
หม้อหุงข้าว
เจฉ่าย (เห็ดหอม, เห็ดหูหนู, ดอกไม้จีน, วุ้นเส้น และฟองเต้าหู้)
ขนมจันอับ (ถั่วตัด, งาตัด, ข้าวพอง, ฟักเชื่อม และลูกกวาด)
สาคูแดงต้ม 5 ถ้วย
ชุดไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย 1 ชุด
ผลไม้ 5 ชนิดต่างสีกัน
กระเป๋าสตางค์
ตำแหน่งการวางโต๊ะและของไหว้บรรพบุรุษช่วงตรุษจีน
รูปบรรพบุรุษ
กระถางธูป
ธูปสำหรับไหว้บรรพบุรุษ*
เทียนสีแดง 1 คู่
แจกันดอกไม้ 1 คู่
น้ำชา*
สุรา*
ข้าวสวย*
อาหารคาว 5 – 10 อย่าง
เนื้อสัตว์ 3 หรือ 5 อย่าง
ชุดไหว้บรรพบุรุษและอ่วงแซจี๊ (กระดาษเบิกทางให้บรรพบุรุษลงมารับของไหว้)
อาหารหวาน
ผลไม้
*ตามจำนวนบรรพบุรุษ