ที่หน้ารถของคุณเองมีวัตถุมงคลอย่างพระตั้งวางเอาไว้อยู่หรือเปล่า? เชื่อว่าหลาย ๆ คนโดยเฉพาะคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธจะตั้งพระเอาไว้เป็นที่เคารพบูชาอยู่ในรถ ด้วยความเชื่อที่ว่าบารมีขององค์พระท่านไม่ว่าจะเป็นพระจากสำนักไหนก็ตาม จะช่วยปกป้อง คุ้มครองตน ให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายในทุกการขับขี่ ในการตั้งพระนั้น มีหลายคนที่เกิดคำถามและมีการถกประเด็นว่า การตั้งแบบไหนที่ถูกต้อง ต้องหันหน้าหรือหันหลังให้กับทางคนขับ แล้วบริเวณไหนที่เหมาะสมที่จะตั้งพระเอาไว้สักองค์ หรือว่าควรจะมีพระกี่องค์ที่จะช่วยคุ้มครองได้อย่างทั่วถึง แล้วหลักฮวงจุ้ยในการตั้งพระนั้นควรเป็นอย่างไรซึ่งคำถามเหล่านี้ เรามีคำตอบมาให้กับสาระดี ๆ ตั้งพระหน้ารถอย่างไร ให้ถูกหลักฮวงจุ้ย?
ไม่ควรให้ขนาดพระใหญ่เกินไป
หลักฮวงจุ้ยว่าไว้ถึงเรื่องของความสมดุล ขณะของพระที่ใหญ่เกินไปจะทำให้พลังงานของฮวงจุ้ยเสียหาย เกิดการเสียสมดุล จะก่อให้เกิดความตะกุกตะกักทุลักทุเล สร้างความอึดอัดในขณะเดินทาง และสิ่งที่สำคัญจริง ๆ เลย คือการมีวัตถุมงคลไม่ว่าจะเป็นชนิดหรือรูปแบบใดก็ตาม ถ้าหากมีขนาดที่ใหญ่มากเกินไปจนกินพื้นที่ส่วนอื่นที่สำคัญ จะทำให้เกิดการบดบังทัศนวิสัยในการขับรถ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ หลักฮวงจุ้ยว่าไว้ถึงเรื่องของความสมดุล ขณะของพระที่ใหญ่เกินไปจะทำให้พลังงานของฮวงจุ้ยเสียหาย เกิดการเสียสมดุล จะก่อให้เกิดความตะกุกตะกักทุลักทุเล สร้างความอึดอัดในขณะเดินทาง และสิ่งที่สำคัญจริง ๆ เลย คือการมีวัตถุมงคลไม่ว่าจะเป็นชนิดหรือรูปแบบใดก็ตาม ถ้าหากมีขนาดที่ใหญ่มากเกินไปจนกินพื้นที่ส่วนอื่นที่สำคัญ จะทำให้เกิดการบดบังทัศนวิสัยในการขับรถ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้
ของมงคลปลายแหลม
พระหรือของมงคลที่มีปลายแหลมเป็นอันตรายเป็นอย่างมาก ไม่ควรติดตั้งเอาไว้บนรถ ควรเลือกพระที่มีขนาดพอดี ไม่ใหญ่จนเกะกะ และไม่เล็กจนจุกจิก ถ้าเป็นแบบฐาน ก็ให้ตั้งอยู่ฐานพื้นเรียบเพื่อง่ายต่อการจัดวาง หลีกเลี่ยงการตั้งพระที่มีส่วนแหลมหรือที่ครอบด้วยแก้ว เพราะอาจเสี่ยงเกิดการได้รับบาดเจ็บจากมุมเหลี่ยมเหล่านี้ได้ ในกรณีที่แก้วอาจแตก หรือเกิดแรงกระแทกทำให้ร่างกายไปโดนมุมแหลมแบบที่ไม่ได้ตั้งใจ อาจก่อนให้เกิดบาดแผล แทนที่จะเสริมดวง กลายเป็นกระแสพลังงานด้านลบไปเสียอย่างนั้น
พระหน้ารถหันหน้าไปทางไหน?
ตั้งพระหันหน้าหรือหันหลัง แตกต่างกันหรือไม่? ในกรณีที่เราตั้งพระเอาไว้ที่หน้ารถแล้ว อาจมีคำถามเพิ่มเติมว่าต้องหน้าพระไปยังทิศทางไหนดีถึงจะถูกต้อง บางคนให้พระหันออกนอกถนน บางคนก็ให้หันเข้ามาหาตัวเกิดเป็นคำถามที่มีการสอบถามมาอย่างต่อเนื่องในตามศาสตร์ฮวงจุ้ยแล้ว การหันหน้าพระเข้ามาในรถจะเจอเหตุการณ์เรื่องของความสัมพันธ์ต่อคนในครอบครัวในทิศทางที่ไม่ดี กลายเป็นคนเจ้าอารมณ์ ฉุนเฉียวง่าย เพราะผิดตำแหน่งของฮวงจุ้ยนั่นเอง ดังนั้นการตั้งพระในรถ หันด้านไหนตามหลักฮวงจุ้ยควรหันพระไปทางหน้าถนนเพื่อช่วยสอดส่องดูความปลอดภัย
ไม่ควรตั้งพระบนตำแหน่งถุงลม
อย่างที่กล่าวไว้ในข้อแรก การวางพระไม่ควรตั้งให้บังทัศนวิสัยของคนขับ หลาย ๆ คนชอบตั้งพระเอาไว้ที่ AIR BAG เพราะเป็นพื้นที่ที่โล่ง จึงคิดว่าที่นี่แหละเหมาะ ที่จะวางพระเอาไว้ จากนั้นก็แปะสติกเกอร์หรือติดกาวเรียบร้อย แต่รู้หรือเปล่าว่าแบบนี้เสี่ยงอันตรายมาก เพราะถ้าเกิดอะไรฉุกเฉินขึ้นมา แล้วถุงลมทำงาน ก็จะผลักวัตถุมงคลที่ตั้งอยู่กระแทกเข้าตัวทันที ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ หากเกิดอุบัติเหตุแล้วทำให้ถุงลมทำงาน อาจเกิดการกระแทกและเป็นอันตรายได้ นอกจากจุด AIR BAG แล้ว บริเวณส่วนหน้าอื่น ๆ ก็หลีกเลี่ยงการตั้งพระหรือวางสิ่งของวัตถุมงคลไว้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นตรงคอนโซลหน้า เหนือกระจกมองหลัง หรือแม้กระทั่งหน้าพวงมาลัยทุกจุดล้วนมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน ต้องตั้งจุดไหนถึงจะปลอดภัย แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นพื้นที่ที่หลายคนคิดว่าสะดวกที่จะวาง แต่ก่อนจะคำนึงถึงความเป็นสิริมงคล อย่างแรกคือนึกถึงหลักความปลอดภัยเอาไว้ก่อน ถึงแม้ความเป็นจริงเราไม่ควรวางสิ่งของ ใด ๆ ไว้บนหน้ารถเลยก็ตาม แต่เชื่อว่ามีบางส่วนที่ยังเลื่อมใสและเชื่อถือในเรื่องของการบูชาอยู่ ถ้าเพื่อความสบายใจเราก็สามารถตั้งพระเอาไว้เป็นองค์เล็ก ๆ ที่พอมองเห็นในระดับสายตา ติดตั้งเอาไว้บนคอนโซลกลางของตัวรถ พอให้ช่วยได้อุ่นใจ เอาไว้ในระดับที่เหมาะสม ไม่บดบังทัศนวิสัยในการขับขี่ หรือบางคนไม่ตั้งพระ หันมาใช้วิธีการแขวนแทน ถ้าหากต้องการแขวนพระห้อยไว้ที่กระจกมองหลัง ให้เลือกสายที่ไม่ยาวมาก เพื่อให้พระไม่บังกระจก และอย่าลืมเลือกพระที่ไม่มีมุมแหลมคม ป้องกันเวลาเกิดอาการแกว่งเวลารถเลี้ยวหรือตกหลุม ควรใช้สายที่ยาวในระดับที่แขวนได้พอดี เพราะการใช้สายห้อยที่ยาวเกินไปจะทำให้เราต้องมาม้วนเก็บสาย สร้างความพะรุงพะรัง ตามหลักฮวงจุ้ยว่าไว้ไม่ดี เพราะหมายถึงจะต้องเจอเส้นทางหรืออุปสรรคที่ซับซ้อน ไม่มีความพอดี พระในรถแบบแขวนหากเป็นแบบแขวน ให้อยู่ในระยะที่พอดี ไม่ใช้สายที่ยาวมากเกินไป
ต้องทำการติดตั้งให้มั่นคง ยึดติดเอาไว้ให้แน่นหนา
เพราะหมายถึงการที่ชีวิตจะเจอกับความมั่นคงในหน้าที่การงาน และสื่อถึงการยึดเกาะติดถนนที่แน่นเหนียว ทำให้การเดินทางไปไหนมาไหนมีความอุ่นใจ ปลายทางที่ไปก็เจอแต่เรื่องโชคดี ติดต่อกับใครก็ไม่เจออุปสรรค มีรากฐานความสำเร็จ ความมั่นคงในชีวิตที่ลงตัวและสมบูรณ์ ทเช่นเดียวกันถ้าหากติดเอาไว้ไม่แน่น นอกจากจะสื่อถึงความไม่ลงตัว ไม่ลงล็อกในชีวิต ยังเสี่ยงต่อการทำให้เกิดการร่วงหล่น ตกลงมาขัดขวางการขับขี่ ก่อให้เกิดอันตรายในการเดินทางได้อีกด้วย
มีพระเยอะ รับความคุ้มครองเพิ่มขึ้นอย่างนั้นเหรอ?
เคยเห็นหรือไม่ ที่มีการบูชาองค์พระไว้เต็มหน้ารถ ไม่ว่าจะเป็นทั้งรูปแบบที่เป็นองค์ หรือเป็นรูป เป็นเหรียญ แปะติดเป็นสติกเกอร์ อาจจะสร้างความสงสัยให้แก้ผู้พบเห็นว่า การติดตั้งแบบนี้จะช่วยเพิ่มความคุ้มครองให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นอย่างนั้นหรือเปล่า? ไม่ควรตั้งพระในรถมากเกินไปการตั้งพระในรถ มีพระเยอะยิ่งเกะกะ เสียสมดุลหลักฮวงจุ้ย อันที่จริงเรื่องเรานี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล คนที่มีพระไว้บูชาไว้ที่หน้ารถเยอะ ๆ อาจไม่ได้มองว่าจะช่วยส่งเสริมความปลอดภัยให้มากขึ้นเช่นนั้นหรอก อาจมองเป็นของสะสมและความชอบส่วนตัว แต่ส่วนหนึ่งก็อาจจะมีคนที่มีความเชื่อผิด ๆ เหล่านี้กัน ซึ่งเราจะมาชี้แจงให้เข้าใจว่าการมีพระหรือวัตถุมงคลเยอะเช่นนี้ ในหลักฮวงจุ้ยถือว่าเป็นการเสียสมดุล ยิ่งมีเยอะยิ่งส่งผลให้พลังงานฮวงจุ้ยเสียหาย เพราะอะไรต่ออะไรไม่รู้ที่เต็มไปหมด จะก่อให้เกิดความวุ่นวาย สร้างความอึดอัดและดูเกะกะควรมีพระหรือของมงคลไม่เกิน 3 ชิ้นที่ควรประดับเอาไว้ในรถ และเลือกใช้แบบที่เป็นไปตามเงื่อนไขข้ออื่น ๆ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นด้วยเช่นกัน
ติดสติกเกอร์รถให้ถูกตำแหน่ง
การติดสติกเกอร์นอกจากจะบดบังการมองเห็นแล้ว ยังสื่อถึงความไม่ราบรื่น พานพบอุปสรรค การติดสติกเกอร์รูปพระเอาไว้ที่หน้ากระจก ถือว่าขัดต่อหลักฮวงจุ้ยเช่นกัน จะทำให้ชีวิตวุ่นวาย เกิดปัญหาและอุปสรรค มีอะไรขัดขวาง เปรียบเหมือนมีอะไรที่มาติดมาขวางกระจกรถที่ควรจะเป้นพื้นที่โล่ง โปร่งใส จากเดินที่มีเพิ่มที่ไว้ติดป้ายภาษีรถแล้ว การไปติดสติกเกอร์อะไรที่ดูไม่จำเป็นเห็นจะเป็นท่าว่าจะไม่ควร
ทั้งหมดนี่คือหลักฮวงจุ้ยสำหรับการตั้งพระในรถหรือวางวัตถุมงคลที่ถูกต้อง สามารถนำไปปรับใช้กันดูได้ แต่สิ่งสำคัญที่ควรพึงระลึกเอาไว้นอกจากเรื่องศาสตร์มงคลเหล่านี้ นั่นคือศาสตร์ของความมีสติ พึงขับรถด้วยความระมัดระวังและมีสติ เพราะต่อให้ได้พระดีมาจากไหนหรือมั่นใจในระบบวิศวกรรมของยานยนต์มากเพียงใด ถ้าเกิดความประมาทและชะล่าใจ อาจก่อให้เกิดความเสียหายที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่คาดคิด